ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแกรมลบที่มีอยู่ในอุจจาระของคนเรา เช่น อีโคไล (E.coli), เคล็บซิล
ลา (Klebsiella), สูโดโมแนส (Pseudomonas), เอนเทอโรแบกเตอร์ (Enterobacter) เป็นต้น (แต่ส่วนใหญ่
แล้วประมาณ 75-95% เกิดจากเชื้ออีโคไล) ซึ่งเชื้อเหล่านี้จะมีอยู่มากที่บริเวณรอบ ๆ ทวารหนักเนื่องมาจากการ
ชำระหลังถ่ายอุจจาระไม่ถูกต้องสมบูรณ์ เชื้อโรคจึงปนเปื้อนผ่านเข้าท่อปัสสาวะ เข้ามาในกระเพาะปัสสาวะ โดย
เฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่ปกติท่อปัสสาวะจะสั้นและอยู่ใกล้กับทวารหนัก จึงง่ายที่เชื้อโรคจะปนเปื้อนเข้าไปใน
กระเพาะปัสสาวะ ส่วนในผู้ชายจะมีโอกาสติดเชื้อได้น้อยมาก เนื่องจากมีท่อปัสสาวะยาวและอยู่ห่างจากทวาร
หนักมากอีกทั้งเมื่อเชื้อโรคเข้าไปอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ถ้ามีการถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวดก็จะ
สามารถขับเอาเชื้อโรคนั้นออกมาได้ จึงไม่ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ แต่ในกรณีที่กลั้นปัสสาวะ
นาน ๆ เช่น รถติดหรือเดินทางไปต่างจังหวัด (ไม่มีห้องน้ำให้เข้าหรือกลัวการใช้ห้องน้ำสาธารณะที่ไม่สะอาด)
หรือหน้าน้ำท่วมที่ไม่กล้าเข้าห้องน้ำเพราะกลัวสัตว์มีพิษ หรือนอนกลางคืนแล้วขี้เกียจลุกไปเข้าห้องน้ำหรือทำ
อะไรเพลิน ๆ จนลืมเข้าห้องน้ำ เป็นต้น เชื้อโรคที่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะจึงมีเวลานานพอที่จะแบ่งตัวเจริญ
แพร่พันธุ์จนทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ เกิดอาการขัดเบาขึ้นมาได้ ด้วยเหตุนี้ โรคกระเพาะ
ปัสสาวะอักเสบจึงมักพบได้ในผู้หญิงทั่วไปที่ไม่ระมัดระวังการชำระล้างทวารหนักและชอบกลั้นปัสสาวะเป็นเวลา
นาน ๆ ในผู้หญิงที่แต่งงานใหม่หรือหลังร่วมเพศ อาจมีอาการขัดเบาแบบกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ เรียกว่า
“โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากฮันนีมูน” (Honeymoon cystitis) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการฟกช้ำจากการร่วมเพศ แล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสสาวะ
ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ในบางคนยังอาจมีเหตุชักนำให้เกิดโรคนี้ได้มากกว่าทั่วไป (จัดเป็นกลุ่มเสี่ยง) เช่น
-ผู้หญิง ด้วยเหตุผลทางด้านสรีระดังที่กล่าวมา
ผู้สูงอายุเพราะมีสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดีนัก โดยเฉพาะผู้ที่ขาดคนดูแล นอกจากนั้นผู้สูงอายุมักไม่ค่อย
ได้เคลื่อนไหวร่างกาย มักนั่ง ๆ นอน ๆ เป็นเวลานาน และดื่มน้ำน้อย ปัสสาวะจึงแช่ค้างอยู่นาน ทำให้เชื้อโรค
เจริญเติบโตได้ดี
-ผู้ที่ชอบกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เชื้อโรคที่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะจึงมีเวลานานพอที่จะแบ่งตัวเจริญแพร่
พันธุ์ผู้ที่ดื่มน้ำน้อย มีผลให้ไม่ค่อยได้ปัสสาวะ ปัสสาวะจึงแช่ค้างอยู่นาน ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี
-ผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำจะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ก็อาจเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
บ่อยถ้าหากพบว่ามีอาการของโรคนี้เกิดขึ้นซ้ำซาก ก็ควรตรวจดูด้วยว่าเป็นโรคเบาหวานซ่อนเร้นที่ไม่แสดง
อาการอยู่ด้วยหรือไม่
-ผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต (ในผู้สูงอายุ), ท่อปัสสาวะตีบ, นิ่วในกระเพาะ
ปัสสาวะ, มะเร็งต่อมลูกหมาก, เนื้องอกกระเพาะปัสสาวะ, ก้อนเนื้องอกในช่องท้อง, เนื้องอกมดลูก, มีความผิด
ปกติทางโครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ, ถ่ายปัสสาวะไม่ได้เนื่องจากเป็นอัมพาต เป็นต้น
-ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อของไต โรคนิ่ว นิ่วในไต
ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังของท่อปัสสาวะ เช่น โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (เชน โรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียม)
ซึ่งมักมีปัสสาวะแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ เชื้อโรคจึงเจริญเติบโตได้เร็ว
-ผู้ป่วยที่เป็นโรคที่ต้องนั่ง ๆ นอน ๆ ตลอดเวลา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์/อัมพาต ซึ่งส่งผลให้
ปัสสาวะแช่ค้างอยู่นาน
-ผู้ป่วยที่มีการสวนปัสสาวะ หรือมีการคาสายสวนปัสสาวะนาน ๆ หรือใช้เครื่องมือแพทย์สอดใส่ท่อปัสสาวะ เช่น
ผู้ป่วยหลังผ่าตัด หรือผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต เพราะกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะเกิดการบาดเจ็บจากสาย
สวน จึงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย รวมทั้งอาจติดเชื้อจากเชื้อที่ตัวสายสวนปัสสาวะเองด้วย
-สตรีตั้งครรภ์ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น เนื่องจากศีรษะของทารกในท้องกดดันให้เกิดการคั่ง
ของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่หมด เกิดปัสสาวะแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ จึงก่อให้เกิดการ
ติดเชื้อได้ง่าย
-ผู้หญิงที่คุมกำเนิดด้วยยาฆ่าอสุจิ (Spermicide) หรือการใช้ฝาครอบปากมดลูก (Diaphragm) เพราะเป็น
สาเหตุที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด ส่งผลให้เกิด
การติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
-การใช้สเปรย์ดับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศในผู้หญิง เพราะจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะ
และปากช่องคลอด จึงเป็นการเพิ่มโอกาสการบาดเจ็บและการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ
-การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชาย มักพบร่วมกับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมากโต หรือจากการคา
สายสวนปัสสาวะ
วิธีป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ในผู้ที่เคยเป็นโรคนี้และรักษาหายแล้วควรป้องกันมิให้เป็นซ้ำโดยการ
-พยายามดื่มน้ำให้เพียงพอประมาณวันละ 6-8 แก้ว (ตั้งแต่เช้าถึงเข้านอน) อย่ากลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานโดย
ไม่จำเป็น ควรฝึกถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวดจนเป็นนิสัย เวลาที่ต้องเดินทางไกลก็ต้องฝึกให้เคยชินที่จะเข้า
ห้องน้ำนอกบ้าน ถ้ากลัวไม่สะอาดก็ให้ชำระล้างที่โถส้วมให้สะอาดเสียก่อน หรือเวลาเข้านอนตอนอยู่ในบ้านถ้า
ไม่สะดวกจะลุกเข้าห้องน้ำก็ควรเตรียมกระโถนไว้ข้างเตียง เพราะการกลั้นปัสสาวะจะทำให้เชื้อโรคอยู่ใน
กระเพาะปัสสาวะได้นานจนสามารถแบ่งตัวเจริญแพร่พันธุ์ ประกอบกับในภาวะที่กระเพาะปัสสาวะมีความยืดตัว
ความสามารถในการขจัดเชื้อโรคของเยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะลดน้อยลง จึงทำให้เกิดอาการอักเสบของ
กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
-พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่ควรนั่งแช่อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ รักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอยู่
เสมอ หลังการถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ควรล้างหรือใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้าน
หลัง (ในผู้หญิง) เพื่อป้องกันมิให้เชื้อโรคจากบริเวณทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ควรอาบน้ำจากฝักบัว
-ไม่ควรใช้สเปรย์หรือยาดับกลิ่นตัวในบริเวณอวัยวะเพศ เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกของ
อวัยวะเพศ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการติดเชื้อและเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่ายขึ้น
-ในผู้หญิงไม่ควรใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยการใช้น้ำยาฆ่าอสุจิหรือการใช้ฝาครอบปากมดลูก เพราะจะเป็นการเพิ่ม
โอกาสการติดเชื้อต่อช่องคลอด ปากท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ
-ในผู้ชายการขลิบอวัยวะเพศจะช่วยลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้รักษาและควบคุมโรคต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัย
เสี่ยงอาการขัดเบาหลังการร่วมเพศ (โรคกระเพาะปัสสาวะจากฮันนีมูน) อาจป้องกันได้โดยการดื่มน้ำ 1 แก้วก่อน
การร่วมเพศ ใส่ครีมหล่อลื่นที่ช่องคลอด และถ่ายปัสสาวะทันทีหลังการร่วมเพศเสร็จ
-ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐานอยู่เสมอ เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ รวมทั้งการติด
เชื้อทางเพศสัมพันธ์
ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ส่วนมากโรคนี้มักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ซึ่งถ้าไม่ได้รับการ
รักษา เชื้อโรคอาจลุกลามขึ้นไปที่ไตทำให้เป็นกรวยไตอักเสบ และถ้าปล่อยให้เป็นเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดภาวะไต
วายเรื้อรังแทรกซ้อนได้ ส่วนในผู้ชายเชื้ออาจลุกลามเข้าไปทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ
นอกจากนี้ เมื่อการอักเสบติดเชื้อรุนแรง อาจลุกลามเป็นการอักเสบติดเชื้อในกระแสเลือดจนเป็นเหตุทำให้เสีย
ชีวิตได้โรคนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ง่าย ๆ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา เชื้อโรคอาจลุกลามขึ้นไปที่ไตทำให้
เป็นกรวยไตอักเสบ และถ้าปล่อยให้เป็นเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังแทรกซ้อนซึ่งยากแก่การเยียวยา
รักษาได้มั่นดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยนะค่ะด้วยความเป็นห่วงอย่างยิ่ง